หน้าแรก
เกี่ยวกับโครงการ
ความเป็นมา
เป้าหมายและวัตถุประสงค์
คณะกรรมการ
แผนแม่บท
ผลการดำเนินงาน
บุคลากร
กิจกรรม
ฐานข้อมูลทรัพยากร
ฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุ์พืช
ฐานข้อมูลทรัพยากรสัตว์
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อมูลติดต่อ
ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
visitor
ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
เข้าสู่ระบบ
แดชบอร์ดหน้าแรก
หน้าแรก
-
รายละเอียด
พันธุกรรมพืชหายาก มร.ชร.
ตะแบกนา
พันธุกรรมพืช มร.ชร.
Lagerstroemia floribunda
Jack
ชื่อพันธุกรรมพืช : ตะแบกนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Lagerstroemia floribunda
Jack
ชื่อพื้นเมือง : ตะแบก
ชื่อสกุล :
ชื่อวงศ์ : Lythraceae
ลักษณะวิสัย : ไม้ล้มลุก
ชนิดใบ : ใบเดี่ยว
การเรียงตัวของใบ : เรียงสลับ
ลักษณะใบ : เกลี้ยง
ประเภทของดอก : ดอกเดี่ยว
เพศของดอก : สมบูรณ์เพศ
สีของดอก : สีขาว
ลักษณะผล : ผลเมล็ดเดียวแข็ง(drupe)
สีของผล : สีขาว
ลักษณะ
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 – 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกนอกสีเทาอมขาว แตกร่อนเป็นหลุมตื้นๆ ทำให้ผิวเปลือกด่างเป็นวงกระจายทั่วลำต้น เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 5 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 20 เซนติเมตร โคนใบมนหรือสอบเรียว ขอบใบห่อยกขึ้น ปลายใบมน มีติ่งแหลมเล็ก แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว และยานเป็นลอน สีเขียวนวลเป็นมัน ใบอ่อนสีแดงอมชมพู มีขนละเอียดรูปดาว ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีม่วงอมชมพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสันนูนตามยาว และมีขนสั้นประปราย ปลายแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอก 6 กลีบ ทรงกลม ออกสลับกับกลีบเลี้ยง โคนคอดเรียวเป็นก้านสั้นๆ กลีบดอกบางยับย่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลแห้งแก่แล้วแตกกลางพู รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.2 – 2 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงแข็ง มีกลีบเลี้ยงติดตรงจุกผล เมื่อสุกสีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลอมเหลือง แบน มีปีก จำนวนมาก ช่วงเวลาออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ช่วงเวลาออกผล ธันวาคม – มีนาคม อ้างอิง https://adeq.or.th/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B2/
การกระจายพันธุ์
ช่วงเวลาการออกดอก
กรกฎาคม - กันยายน
ช่วงเวลาการออกผล
ธันวาคม – มีนาคม
การใช้ประโยชน์